วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

ภาพกิจกรรมQCC








แนวคิพื้นฐานQCC

แนวความคิดพื้นฐานของ Q.C.C.
ในการนำกิจกรรมของ Q.C.C. มาใช้ในวงการธุรกิจในสมัยปัจจุบันเนื่องจากมีวัตถุประสงค์เป็นพื้นฐานดังนี้ ( ลีลา สินานุเคราะห์ 2530 : 40 )
1. เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและการพัฒนารัฐวิสาหกิจ
2. เพื่อสร้างสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ สร้างบรรยากาศในองค์การให้แจ่มใส
3. เพื่อดึงความสามารถทั้งหมดทีมีอยู่ในบุคคล ออกมาใช้ให้ได้ประโยชน์เต็มที่ จนถึงขีดสูงสุดห่งความสามารถที่เขามีอยู่หลักการสำคัญของ Q.C.C.หลักกานที่สำคัญในการนำกิจกรรมกลุ่มควบคุณภาพมาพัฒนา ในด้านการบริหารงานธุรกิจปัจจุบันนี้ ก็เนื่อง จากแนวความคิดในการบริหารสมัยใหม่ ต้องการให้พนักงานในระดับหัวหน้าและพนักงานทั่วไปมีความสำนึก 4 ประการ คือ
1. การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ( Participated by Every - one )
2. การทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีระบบ ( Teamwork Consciousness )
3. การรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง ( Problem Consciousness
4. การรู้จักปรับปรุงด้วยตนเอง ( Improvement Consciousnessฉะนั้น การบริหารงานโดยระบบควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ นอกจากให้สมาชิกที่ร่วมกลุ่มได้มีจิต สำนึกใน 4 ประการ ข้างต้นแล้ว ยังต้องอาศัยหลักการของวัฏจักรเคมิ่ง ( Deming Cycle )ในการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1. การวางแผน ( Plan : P )
2. การปฏิบัติ ( Do : D ))
3. การตรวจสอบ ( Check : C )
4. การแก้ไขปรับปรุง (Action : A )

หลักการพื้นฐานQCC

หลักการพื้นฐานกิจกรรม QCC
หลักการพัฒนาคุณภาพ
1. พัฒนาคน- ผู้บริหารและพนักงานทุกคน มีส่วนร่วมรับผิดชอบ- ให้การยอมรับ และเคารพในความเป็นสมาชิกขององค์กร- ให้โอกาสทุกคนได้แสดงความสามารถของตนเอง- ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน และยินดีร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
2. พัฒนางาน- ใช้วงจรคุณภาพ PDCA- ใช้เทคนิคการระดมสมอง ให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์- ใช้เทคนิคการประชุมร่วมกัน- ใช้เทคนิคการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาทีมงาน- การรวมกลุ่มที่มีเป้าหมายคุณภาพ- เป็นกลุ่มที่ทำงานอยู่ในที่เดียวกัน พบปัญหา และมีแนวทางสำเร็จร่วมกัน- มีความสมัครใจ และร่วมใจทำงานอย่างต่อเนื่อง- มีระบบการสื่อสารระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพ- มีการจัดวางหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน- ใช้เทคนิคการพัฒนางานทั้ง
4 วิธี ความหมายของ Q.C.

ความหมายและความสำคัญQCC

ความหมายและความสำคัญ
ของ QCCความหมายของกิจกรรม QCCQCC = Quality Control Cycle หมายถึง การควบคุมคุณภาพด้วยกิจกรรมกลุ่มการควบคุมคุณภาพ คือ การบริหารงานด้านวัตถุดิบ ขบวนการผลิตและผลผลิต ให้ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ผู้เกี่ยวข้องหรือข้อกำหนดตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ โดยมีเป้าหมายป้องกันและลดปัญหาการสูญเสียทั้งวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต เวลาการทำงาน และผลผลิตกิจกรรมกลุ่ม คือ ความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน หรือสร้างผลงานตามเป้าหมายซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร พนักงาน วิธีการทำงาน เครื่องจักร เครื่องใช้ ระเบียบกฏเกณฑ์ และอื่นๆกิจกรรม QCC คือ กิจกรรมที่สร้างความร่วมมือร่วมใจในการสร้างผลงานให้ได้คุณภาพตามเป้าหมาย โดยการค้นหาจุดอ่อน และหาสาเหตุแห่งปัญหา แล้วระดมปัญญาแก้ไขปรับปรุงและว่างแผนคุณภาพอย่างเป็นระบบ

อ้างอิงของบทความ

ถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณอุดม สลัดทุกข์
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)534/4 ถนนพัฒนาการ ซอยพัฒนาการ 18 เขตสวนหลวง กทม. 10250โทร. 0-2717-3000 ต่อ 632 โทรสาร 0-2719-9489-90E-mail: udom@tpa.or.th
page="SHINDAN / QCC";

ประโยชน์ของQCC

ประโยชน์
1. เพื่อพัฒนาพนักงานหน้างานให้มีความเก่งมากขึ้น
2. สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานของหน่วยงาน ให้อยากอยู่ อยากทำ อยากคิด
3. พัฒนาทีมงานให้เข้าใจบทบาทตัวเอง เพื่อการประสานงานกัน ตลอดจนการพัฒนาเพื่อการเป็นหัวหน้างานในอนาคต เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงาน
4. เพื่อช่วยกำหนดมาตรฐานในการควบคุมงาน และยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานการทำงานของพนักงานให้สูงขึ้น
5. ช่วยให้ได้สินค้าและบริการมีคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
6. ช่วยแบ่งเบาหน้าที่งานจากหัวหน้า ทำให้หัวหน้ามีเวลาทำงานด้านอื่นเพิ่มขึ้น
ถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ขอบเขตการศึกษาQCC

ขอบเขตการให้คำปรึกษาขอบเขตการให้บริการแบ่งเป็น 3 ระยะ (Phase)Phase
I: สำหรับองค์การที่ไม่เคยมี QCC มาก่อนPhase
II: สำหรับองค์การที่เคยมี QCC มาแล้ว 1-3 ปี ที่ต้องการปรับปรุง QCC ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นPhase
III :การถ่ายทอดนโยบายลงสู่ กลุ่ม QC หรือ QCC ที่ให้ประสิทธิผล

นิยามของQCC

นิยามQC Circle หรือ QCC หรือ กลุ่ม QC คืออะไร? (Fundamentals of QC Circle แก้ไขปี 1995)
1. กลุ่มเล็กๆ ประกอบด้วยพนักงานที่อยู่หน้างาน
2. ร่วมกันปรับปรุงคุณภาพงาน สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง
3. ดำเนินการได้ด้วยตนเองตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม (Autonomous)
4. ใช้ QC Concept และ เทคนิค ในการแก้ไขปัญหา
5. ดึงความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานออกมาใช้ และส่งเสริมการพัฒนาตนเอง เพื่อยกระดับความสามารถและพัฒนาซึ่งกันและกัน เพื่อให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น

บทนำQCC

บทนำยุคสมัยของอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป จากยุคที่แข่งขันด้วยเทคโนโลยี ที่ใครมีเหนือกว่าก็จะสามารถชนะคู่แข่งขัน เมื่อเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อะไรๆก็ไม่ต่างกันเสียแล้ว ยุคนี้จุดต่างจึงอยู่ที่ว่าคนของใครเก่งกว่ากัน การทำให้คนในองค์การเก่งนั้นไม่ยาก เพราะเราสามารถฝึกอบรมได้ ซึ่งเดี๋ยวนี้ใครๆก็ทำกันเยอะแยะ แต่การที่ทำให้คนเก่ง อยากอยู่ อยากทำ อยากคิด นั้นไม่ง่าย องค์การจึงต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อให้คนเก่ง อยากอยู่ อยากทำ อยากคิด ในประเทศญี่ปุ่นเองมีแนวคิดในการให้พนักงานของเขาทั้งองค์การ มีส่วนร่วมในการบริหาร โดยใช้กลุ่มคุณภาพ (QCC) เพื่อตัวพนักงานเองจะได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อนฝูงอันเป็นการบรรลุความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งตามทฤษฎีลำดับชั้นความต้องการของ มาสโลว์(ซึ่งมีอยู่ห้าขั้น) อีกทั้งผู้บริหารเองก็มองเห็นศักยภาพของพนักงานในมุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นับเป็นการขุดเพชรตมมาเจียรนัย และปัญหาส่วนใหญ่ที่พนักงานได้มีส่วนร่วมแก้ไขนั้นมักเป็นปัญหาลดความเหนื่อยยากในการทำงานให้น้อยลง จึงทำให้พนักงานมีชีวิตการทำงานดีขึ้น มีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ก่อให้เกิดการอยากที่จะคิด อยากที่จะทำ ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หลายองค์การได้หันมาสร้างความเก่งให้กับพนักงานในรูปแบบการทำกลุ่มคุณภาพ (QCC) องค์การสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ก่อให้เกิดทั้งประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความน่าเชื่อถือ และเมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น บริษัทเหล่านี้ก็พร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งทั้งภายนอกและภายในประเทศ

ขั้นตอนในการทำQCC

ขั้นตอนการดำเนินงานของ QCC ของบริษัท
1. บริษัทประกาศนโยบาย QCC
2. เตรียมการเพื่อเริ่มต้น QCC
- ตั้งคณะกรรมการ QCC ของบริษัท
- กำหนดหลักเกณฑ์/ระเบียบ QCC
- ตั้ง COORDINATOR (เลขานุการของ QCC Committee)
- จัดเตรียมหัวหน้างานเป็นหัวหน้ากลุ่มชั่วคราว
- เตรียมพนักงานสอน concept, QCC Tools เป็นต้น
3. เริ่มกิจกรรม QCC
1. จัดตั้งกลุ่ม QCC (กลุ่มละ 3-10 คน)
2. จดทะเบียนกลุ่ม (ตั้งชื่อกลุ่ม เชิงสร้างสรร)
3. ประชุมค้นหาปัญหามาทำกิจกรรม (ให้สมาชิก Vote กันตั้งประธาน เลขานุการ)
4. กำหนดหัวข้อเรื่องและเป้าหมาย (จดทะเบียนกิจกรรม)
5. สำรวจสภาพปัจจุบัน (เก็บข้อมูล)
6. เข้าวงจร DEMING: PDCA (PLAN DO, CHECK, ACTION)
7. กำหนดมาตรฐานการทำงาน (STD. PRACTICE)
8. เสนอผลงาน พร้อมกันหมด ให้รางวัล (ไม่เป็นเงิน)
9. วางแผนทำเรื่องใหม่ต่อไป
ระยะเวลาทำกิจกรรม ประมาณ 6-8 เดือนต่อรอบ
5. หน้าที่ของบุคคลต่าง ๆ ในกลุ่ม QCC
1. ประธานกลุ่ม
- ให้หัวหน้างานเป็นชั่วคราวก่อนในการประชุมครั้งแรก
- สมาชิกเลือกกันเอง หัวหน้างานกลายเป็นที่ปรึกษา
- ดำเนินการประชุม
- ติดตามผลการปฏิบัติงาน
- ชักจูง ส่งเสริม ให้กำลังใจสมาชิก
- รายงานความก้าวหน้าให้หัวหน้างาน (ที่ปรึกษา)
- แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2. เลขานุการกลุ่ม
- จดบันทึกการประชุม จัดทำรายงานการประชุม
- เตรียมวาระการประชุม
- นัดหมาย เวลา สถานที่ประชุม
- จัดเตรียมรายงาน
3. สมาชิกกลุ่ม
- ร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
- ให้ความร่วมมือ
- รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
- เคารพ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลุ่ม
- ตรงต่อเวลา
- ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
- ปฏิบัติตามมติกลุ่ม แม้จะไม่เห็นด้วย
6. ข้อแนะนำในการทำกิจกรรม QCC
1. การประชุมกลุ่ม
- ระดมสมองและความคิดอย่างเต็มที่
- ทำงานเป็นทีม ทุกคนช่วยกัน
2. การค้นหาปัญหามาทำกิจกรรม
- เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเท่านั้น
- เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้โดยสมาชิกเอง ไม่ใช่ปัญหาคนอื่น
- เป็นปัญหาที่ลงความเห็นโดยสมาชิกส่วนใหญ่
- เป็นปัญหาที่ลดความลำบากของสมาชิกกลุ่ม
- เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขให้สำเร็จภายใน 6 เดือน
- เป็นปัญหาที่สามารถเก็บข้อมูลได้ วัดได้
- เมื่อได้ปัญหาแล้ว ต้องได้รับ APPROVE ก่อน (จดทะเบียนกิจกรรม)
- การเลือกปัญหาต้องมีเหตุผล SUPPORT
- ใช้หลัก 5 W+H ในการค้นปัญหา
WHAT/WHEN/WHERE/WHY/WHO/HOW (5W,1H)
3. การกำหนดเป้าหมาย (TARGET)+TIME FRAME
- เป็นเป้าหมายที่วัดได้ เช่น จะลด REJECT ลง 20%
- มีกำหนดเวลา เช่น 3-6 เดือน
4. การสำรวจสภาพ และเก็บข้อมูล
- เก็บข้อมูลสภาพเดิมไว้เปรียบเทียบเมื่อกิจกรรมเสร็จแล้ว
- ใช้ 7 Tools และสถิติเบื้องต้น
- เครื่องมือ 7 อย่างของ QCC ประกอบด้วย
· ใบตรวจสอบ (Check Sheet)
· การจำแนกข้อมูล (Data Stratification)
· กราฟ (Graph) และแผนภูมิควบคุม (Control Chart)
· แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram)
· ผังก้างปลา (Fish-bone Diagram)
· ฮีสโตแกรม (Histogram)
· แผนภาพการกระจาย (Scattered Diagram)
5. เข้าวงจร DEMING
PLAN วางแผนแก้ปัญหา
- ใช้ 7 Tools เก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา
- จัดลำดับปัญหา ด้วย PARETO DIAGRAM
- ระดมสมองหาสาเหตุของปัญหา (แผนภูมิก้างปลา)
- หาวิธีการแก้ปัญหา (ระดมความคิด)
- ทำตารางแผนปฏิบัติงาน

ข้อควรระวังในการทำQCC

ข้อควรระวังเมื่อเริ่มทำกิจกรรม QCC
1. QCC ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ความสำเร็จอาศัย “คน” เป็นหลัก ระวังล้มเหลวเมื่อเริ่ม ถ้า START ไม่ดี CONCEPT ไม่แม่น
2. ก่อนจะเริ่ม QCC ควรดูความพร้อมพื้นฐานด้าน นโยบายบริษัท กระบวนการผลิต โครงสร้างบริหาร พื้นฐานของพนักงาน ปัญหาภายใน ฯลฯ
3. ควรเชิญวิทยากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้าน QCC มาเริ่มงาน
4. ต้องดัดแปลงงานเดิมที่ขัดแย้งกับหลักการ QCC ก่อน
5. TOP MGMT อย่าหวังผลเร็วเกินไป ควรใช้ความอดทนพอสมควร
6. ควรใช้เวลาเตรียมพนักงานพอสมควรอย่างมีขั้นตอน ปูพื้นฐานดูงาน หาหนังมาฉาย สอนเทคนิค QCC ต่าง ๆ จ้างวิทยากรมาบรรยาย
7. ให้ถือว่าปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเป็นของธรรมดา
“NO PROBLEM, NO PROGRESS”
8. อย่างมุ่งหวังในรางวัลมากเกินไป อย่าให้รางวัลเป็นเงิน
9. เริ่มแรกอย่างมุ่งผลประโยชน์บริษัท ให้มุ่งประโยชน์ที่ตัวพนักงานก่อน ผลประโยชน์ของบริษัทจะตามมา

ลักษณ์และปัญหา

ลักษณะและประเภทของปัญหาและกิจกรรม
1. ปัญหาเกี่ยวกับตัวพนักงานเอง เช่น
- มีความลำบากในการทำงาน
- มีอุบัติเหตุบ่อย
- หยุดงานบ่อย มาสายบ่อย
- ขาดการประสานงาน
2. ปัญหาเรื่องความสกปรก ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของที่ทำงาน
3. ปัญหาเกี่ยวกับการผลิต เช่น
- ผลผลิตตกต่ำ
- มีของสูญเสียมาก
- เครื่องจักรเสียบ่อย ๆ
- ผลิตสินค้าไม่ทัน
- ขาดการประสานงาน
- การผลิตไม่ BALANCE กับหน่วยอื่น เกิด Bottle Neck หรือ Idle Time
4. ปัญหาค่าใช้จ่ายสูง
5. ปัญหาการซ่อมบำรุง
- ซ่อมไม่ทัน
- ไม่มีอะไหล่
- เครื่องเสียบ่อย ๆ
- ช่างว่างงาน
6. ปัญหาการตลาด
- ส่งสินค้าไม่ทัน
- ส่งผิด
- ถูก Reject
- ขายต่ำกว่าคู่แข่ง
7. ปัญหาสิ่งแวดล้อม (ในที่ทำงาน)
- เสียงดัง
- ฝุ่นมาก
- แสงไม่พอ
- ระบายอากาศไม่ดี
8. ปัญหาด้านธุรการ บริหารบุคคล
- การรับส่งเอกสาร สูญหายบ่อย
- ค้นเอกสารไม่เจอ
- ของใช้สำนักงานสิ้นเปลือง
- จ่ายเงินช้า
ปัญหาของกิจกรรม QCC ขอให้เน้นปัญหาที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบกับพนักงานเป็นอันดับแรก อย่าไปเน้นที่ปัญหาของบริษัท

มาทำความรูจักQCCกัน

QCC คืออะไร
QCC หมายถึงกลุ่มคนขนาดเล็ก (3-10 คน) ที่ทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกันมารวมตัวกันอย่างอิสระเพื่อทำกิจกรรมด้านการปรับปรุงงานที่กลุ่มของตนรับผิดชอบอยู่ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลถึงการปรับปรุงคุณภาพโดยไม่มีใครบังคับ
QCC = CWQC Æ COMPANY WIDE QUALITY CONTROL
หลักการ QUALITY MUST BE BUILT IN THE PROCESS NOT BY INSPECTION
QCC - มีการประชุมกันเป็นประจำ (1-2 ครั้ง/สัปดาห์)
- ทำกิจกรรมร่วมกันด้วยความสมัครใจและร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง
- เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา QC ทั่วทั้งองค์กร (CWQC)
- พัฒนาตนเอง และพัฒนาซึ่งกันและกัน
- ใช้เทคนิค QCC แก้ปัญหาในหน่วยงานของตน
(ไม่ใช่ปัญหาของคนอื่น หรือให้คนอื่นมาแก้)
มนุษย์ เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ต้องการแสดงออกถึงความสามารถ ต้องการให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับในสังคม หลักการ QCC เปิดโอกาสให้มนุษย์ได้แสดงออก

กิจกรรมQCC

กิจกรรม QCC
1. ปรับปรุงคุณภาพงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. เรียนรู้วิธีการเขียนและวิเคราะห์ปัญหา QC Story
3. เรียนรู้การแก้ปัญหาและป้องกันปัญหา Corrective & Preventive Action

อ้างอิง

อ้างอิงhttp://www.cmxseed.com/www.ftpi.or.th

ตัวอย่างจากการศึกษาQCCจากบริษัท

กรณีศึกษา
บริษัท ชวกน จำกัดบริษัท ชวกุน จำกัดเป็นบริษัทผู้ผลิต ไส้กรองอากาศรถยนต์ และไส้กรองน้ำมันเครื่อง ธุรกิจเริ่มต้นขึ้นในลักษณะธุรกิจของครอบครัว ซึ่งในอดีตรูปแบบการบริหารงานจะมีลักษณะแบบ TOP DOWN กล่าวคือ ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจ สั่งการต่างๆ ลงมาสู่พนักงานระดับล่างให้ปฏิบัติตาม ไม่ได้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานได้ใช้ศักยภาพในการช่วยปรับปรุงและพัฒนางานหลังจากผู้บริหารได้มีแนวความคิดในการพัฒนาปรับปรุงงานสมัยใหม่ ผู้บริหารจึงได้ส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรม ไคเซ็น (Kaizen) ซึ่งกิจกรรมไคเซ็นนี้ เป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในการบริหารการจัดการอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน ร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงาน การลดของเสีย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ เทคนิคต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการทำกิจกรรมไคเซ็น มีอยู่ด้วยกันหลายๆ ประการ เช่น– กิจกรรม 5 ส– หลักการวงจรของเดมมิ่ง (การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการแก้ไข)– QC 7 Tools (แผนภูมิควบคุม แผนผังก้างปลา ใบตรวจสอบ แผนภูมิพาเรโตฮิสโตแกรม กราฟต่างๆ และแผนภูมิการกระจาย)– กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ (QC Circle)– ฯลฯผลจากการสนับสนุนกิจกรรม บริษัทได้ความคิดในการพัฒนาด้านต่างๆ จากพนักงานจำนวนมาก ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ที่ได้จากการจัดทำกิจกรรม ดังนี้ คือ ของเสียในการผลิตลดลง ต้นทุนการผลิตต่ำลง การทำงานง่ายและรวดเร็วขึ้น พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมมีขวัญและกำลังใจดีขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการเทคนิควิธีการ และขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม QCC อย่างถูกต้อง
2. ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะในการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรม QCC
3. ปรับปรุงคุณภาพงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. เรียนรู้วิธีการเขียนและวิเคราะห์ปัญหา QC Story5. เรียนรู้การแก้ปัญหาและป้องกันปัญหา Corrective & Preventive Action

หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผลการทำกิจกรรมคุณภาพ QCC เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถจะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน้างานได้ การที่พนักงานมีความรู้แนวคิดในการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์หาสาเหตุรวมถึงการวางแผนในการปรับปรุงแก้ไข จะทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นลดลงได้ ทำให้ลดต้นทุนในการผลิตลง ทำให้งานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพและมาตรฐานการทำงานให้ดีขึ้นจึงจำเป็นที่สมาชิกกลุ่มคิวซี ผู้นำกลุ่มคิวซี ผู้มีหน้าที่ในการส่งเสริมและชี้แนะการทำกิจกรรมอย่างถูกต้อง สามารถกำหนดแผนในการดำเนินการ วิธีการปฏิบัติจริง การควบคุมการดำเนินงานและแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม

ความเป็นมาในการใช้

ในอดีตยุคต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นยุคของปริมาณความต้องการสินค้ามากกว่าปริมาณการสนองตอบ(Demand over Supply) ซึ่งองค์กรการผลิตส่วนใหญ่จะใช้ระบบการผลิตแบบจำนวนมากๆ (Mass Production) เพราะในขณะนั้นไม่ว่าจะผลิตอะไรออกมาก็สามารถขายได้หมด ถือว่าการผลิตเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร แต่ในยุคโลกาภิวัฒน์ เช่นปัจจุบัน ผู้ผลิตมีการแข่งขันอย่างรุนแรง เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ผลิตจากที่ต่างๆ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทั่วทุกมุมโลก ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคมีความประณีตขึ้น กล่าวคือ นอกจากความสามารถในการทำงานได้ตามหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นแล้ว ผู้บริโภคยังมีความคาดหวังให้ผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนองความต้องการด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น การมีลักษณะรูปร่างที่ออกแบบมาอย่างสวยงาม ความคงทน การดูแลรักษาง่าย เป็นต้น โดยปกติการเสาะหาข้อมูลความต้องการของลูกค้าจะต้องอาศัยกระบวนการวิจัยทางการตลาด เข้าช่วย ดังนั้นในยุคปัจจุบัน การตลาด และการผลิต จะต้องประสานงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีฝ่ายควบคุมคุณภาพทำหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม ให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจากฝ่ายผลิต เป็นไปตามข้อมูลที่ลูกค้าต้องการจากฝ่ายการตลาดการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ก่อนที่จะกล่าวถึงการควบคุมคุณภาพ ควรทำความเข้าใจคำว่า “คุณภาพ” ก่อน นิยามของคำว่าคุณภาพ นั้น มีอยู่หลายๆ ความหมาย แต่ความหมายที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน คือ ความหมายที่กล่าวว่า คุณภาพ คือ ความพึงพอใจของลูกค้า ตามความหมายนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นนอกจากจะต้องสามารถทำงานตามหน้าที่ได้แล้ว ยังจะต้องตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังได้อีกด้วยเช่น รถยนต์ นอกจากจะวิ่งได้ตามหน้าที่หลักแล้ว สิ่งที่ลูกค้าคาดหวังเพิ่มเติมคือ มีลักษณะที่สวยงาม มีความคงทน ดูแลรักษาง่าย มีระบบความปลอดภัยที่ดี และมีบริการหลังการขายที่ดี เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจะผลิตสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าพึงพอใจนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยาก ถ้าหากมีความเข้าใจ มีการจัดการ และมีการวางแผนอย่างเป็นระบบการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) จึงหมายถึง ขบวนการที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดมาตรฐานไว้ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า