วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

ตัวอย่างจากการศึกษาQCCจากบริษัท

กรณีศึกษา
บริษัท ชวกน จำกัดบริษัท ชวกุน จำกัดเป็นบริษัทผู้ผลิต ไส้กรองอากาศรถยนต์ และไส้กรองน้ำมันเครื่อง ธุรกิจเริ่มต้นขึ้นในลักษณะธุรกิจของครอบครัว ซึ่งในอดีตรูปแบบการบริหารงานจะมีลักษณะแบบ TOP DOWN กล่าวคือ ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจ สั่งการต่างๆ ลงมาสู่พนักงานระดับล่างให้ปฏิบัติตาม ไม่ได้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานได้ใช้ศักยภาพในการช่วยปรับปรุงและพัฒนางานหลังจากผู้บริหารได้มีแนวความคิดในการพัฒนาปรับปรุงงานสมัยใหม่ ผู้บริหารจึงได้ส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรม ไคเซ็น (Kaizen) ซึ่งกิจกรรมไคเซ็นนี้ เป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในการบริหารการจัดการอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน ร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงาน การลดของเสีย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ เทคนิคต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการทำกิจกรรมไคเซ็น มีอยู่ด้วยกันหลายๆ ประการ เช่น– กิจกรรม 5 ส– หลักการวงจรของเดมมิ่ง (การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการแก้ไข)– QC 7 Tools (แผนภูมิควบคุม แผนผังก้างปลา ใบตรวจสอบ แผนภูมิพาเรโตฮิสโตแกรม กราฟต่างๆ และแผนภูมิการกระจาย)– กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ (QC Circle)– ฯลฯผลจากการสนับสนุนกิจกรรม บริษัทได้ความคิดในการพัฒนาด้านต่างๆ จากพนักงานจำนวนมาก ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ที่ได้จากการจัดทำกิจกรรม ดังนี้ คือ ของเสียในการผลิตลดลง ต้นทุนการผลิตต่ำลง การทำงานง่ายและรวดเร็วขึ้น พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมมีขวัญและกำลังใจดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: