วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

ขั้นตอนในการทำQCC

ขั้นตอนการดำเนินงานของ QCC ของบริษัท
1. บริษัทประกาศนโยบาย QCC
2. เตรียมการเพื่อเริ่มต้น QCC
- ตั้งคณะกรรมการ QCC ของบริษัท
- กำหนดหลักเกณฑ์/ระเบียบ QCC
- ตั้ง COORDINATOR (เลขานุการของ QCC Committee)
- จัดเตรียมหัวหน้างานเป็นหัวหน้ากลุ่มชั่วคราว
- เตรียมพนักงานสอน concept, QCC Tools เป็นต้น
3. เริ่มกิจกรรม QCC
1. จัดตั้งกลุ่ม QCC (กลุ่มละ 3-10 คน)
2. จดทะเบียนกลุ่ม (ตั้งชื่อกลุ่ม เชิงสร้างสรร)
3. ประชุมค้นหาปัญหามาทำกิจกรรม (ให้สมาชิก Vote กันตั้งประธาน เลขานุการ)
4. กำหนดหัวข้อเรื่องและเป้าหมาย (จดทะเบียนกิจกรรม)
5. สำรวจสภาพปัจจุบัน (เก็บข้อมูล)
6. เข้าวงจร DEMING: PDCA (PLAN DO, CHECK, ACTION)
7. กำหนดมาตรฐานการทำงาน (STD. PRACTICE)
8. เสนอผลงาน พร้อมกันหมด ให้รางวัล (ไม่เป็นเงิน)
9. วางแผนทำเรื่องใหม่ต่อไป
ระยะเวลาทำกิจกรรม ประมาณ 6-8 เดือนต่อรอบ
5. หน้าที่ของบุคคลต่าง ๆ ในกลุ่ม QCC
1. ประธานกลุ่ม
- ให้หัวหน้างานเป็นชั่วคราวก่อนในการประชุมครั้งแรก
- สมาชิกเลือกกันเอง หัวหน้างานกลายเป็นที่ปรึกษา
- ดำเนินการประชุม
- ติดตามผลการปฏิบัติงาน
- ชักจูง ส่งเสริม ให้กำลังใจสมาชิก
- รายงานความก้าวหน้าให้หัวหน้างาน (ที่ปรึกษา)
- แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2. เลขานุการกลุ่ม
- จดบันทึกการประชุม จัดทำรายงานการประชุม
- เตรียมวาระการประชุม
- นัดหมาย เวลา สถานที่ประชุม
- จัดเตรียมรายงาน
3. สมาชิกกลุ่ม
- ร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
- ให้ความร่วมมือ
- รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
- เคารพ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลุ่ม
- ตรงต่อเวลา
- ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
- ปฏิบัติตามมติกลุ่ม แม้จะไม่เห็นด้วย
6. ข้อแนะนำในการทำกิจกรรม QCC
1. การประชุมกลุ่ม
- ระดมสมองและความคิดอย่างเต็มที่
- ทำงานเป็นทีม ทุกคนช่วยกัน
2. การค้นหาปัญหามาทำกิจกรรม
- เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเท่านั้น
- เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้โดยสมาชิกเอง ไม่ใช่ปัญหาคนอื่น
- เป็นปัญหาที่ลงความเห็นโดยสมาชิกส่วนใหญ่
- เป็นปัญหาที่ลดความลำบากของสมาชิกกลุ่ม
- เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขให้สำเร็จภายใน 6 เดือน
- เป็นปัญหาที่สามารถเก็บข้อมูลได้ วัดได้
- เมื่อได้ปัญหาแล้ว ต้องได้รับ APPROVE ก่อน (จดทะเบียนกิจกรรม)
- การเลือกปัญหาต้องมีเหตุผล SUPPORT
- ใช้หลัก 5 W+H ในการค้นปัญหา
WHAT/WHEN/WHERE/WHY/WHO/HOW (5W,1H)
3. การกำหนดเป้าหมาย (TARGET)+TIME FRAME
- เป็นเป้าหมายที่วัดได้ เช่น จะลด REJECT ลง 20%
- มีกำหนดเวลา เช่น 3-6 เดือน
4. การสำรวจสภาพ และเก็บข้อมูล
- เก็บข้อมูลสภาพเดิมไว้เปรียบเทียบเมื่อกิจกรรมเสร็จแล้ว
- ใช้ 7 Tools และสถิติเบื้องต้น
- เครื่องมือ 7 อย่างของ QCC ประกอบด้วย
· ใบตรวจสอบ (Check Sheet)
· การจำแนกข้อมูล (Data Stratification)
· กราฟ (Graph) และแผนภูมิควบคุม (Control Chart)
· แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram)
· ผังก้างปลา (Fish-bone Diagram)
· ฮีสโตแกรม (Histogram)
· แผนภาพการกระจาย (Scattered Diagram)
5. เข้าวงจร DEMING
PLAN วางแผนแก้ปัญหา
- ใช้ 7 Tools เก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา
- จัดลำดับปัญหา ด้วย PARETO DIAGRAM
- ระดมสมองหาสาเหตุของปัญหา (แผนภูมิก้างปลา)
- หาวิธีการแก้ปัญหา (ระดมความคิด)
- ทำตารางแผนปฏิบัติงาน

ไม่มีความคิดเห็น: