วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

บทนำQCC

บทนำยุคสมัยของอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป จากยุคที่แข่งขันด้วยเทคโนโลยี ที่ใครมีเหนือกว่าก็จะสามารถชนะคู่แข่งขัน เมื่อเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อะไรๆก็ไม่ต่างกันเสียแล้ว ยุคนี้จุดต่างจึงอยู่ที่ว่าคนของใครเก่งกว่ากัน การทำให้คนในองค์การเก่งนั้นไม่ยาก เพราะเราสามารถฝึกอบรมได้ ซึ่งเดี๋ยวนี้ใครๆก็ทำกันเยอะแยะ แต่การที่ทำให้คนเก่ง อยากอยู่ อยากทำ อยากคิด นั้นไม่ง่าย องค์การจึงต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อให้คนเก่ง อยากอยู่ อยากทำ อยากคิด ในประเทศญี่ปุ่นเองมีแนวคิดในการให้พนักงานของเขาทั้งองค์การ มีส่วนร่วมในการบริหาร โดยใช้กลุ่มคุณภาพ (QCC) เพื่อตัวพนักงานเองจะได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อนฝูงอันเป็นการบรรลุความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งตามทฤษฎีลำดับชั้นความต้องการของ มาสโลว์(ซึ่งมีอยู่ห้าขั้น) อีกทั้งผู้บริหารเองก็มองเห็นศักยภาพของพนักงานในมุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นับเป็นการขุดเพชรตมมาเจียรนัย และปัญหาส่วนใหญ่ที่พนักงานได้มีส่วนร่วมแก้ไขนั้นมักเป็นปัญหาลดความเหนื่อยยากในการทำงานให้น้อยลง จึงทำให้พนักงานมีชีวิตการทำงานดีขึ้น มีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ก่อให้เกิดการอยากที่จะคิด อยากที่จะทำ ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ หลายองค์การได้หันมาสร้างความเก่งให้กับพนักงานในรูปแบบการทำกลุ่มคุณภาพ (QCC) องค์การสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ก่อให้เกิดทั้งประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความน่าเชื่อถือ และเมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น บริษัทเหล่านี้ก็พร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งทั้งภายนอกและภายในประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น: